สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
( เจริญ สุวฑฺฒโน )

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙

ขณะทรงพระเยาว์

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕ ตรงกับ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนกชื่อน้อย คชวัตร พระชนนีชื่อกิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้อง ๓ คน เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงมีร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยอยู่เสมอ คราวหนึ่งทรงป่วยหนักจนผู้ใหญ่ถึงกับคิดว่าจะไม่หายและบนว่า ถ้าหายจะให้บวชแก้บน ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา พระองค์ทรงมีนิสัยแสดงออกทางพระ ชอบเล่นเป็นพระทำคัมภีร์เทศน์เล็กๆ พัดยศเล็กๆ เล่นทอดกฐิน ผ้าป่า เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ หรือเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ ๒
เมื่อครั้งเป็นสามเณร
ท่านน้อย คชวัตร
พระชนก
ท่านกิมน้อย คชวัตร
พระชนนี

ทรงบรรพชา

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ จะมีน้าออกบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม ๒ คน พระชนนีและป้าจึงชักชวนให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนเสีย จึงตกลงพระทัยที่จะบรรพชา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีพระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูอดุลยสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อวัดเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ)เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูนิวิฐสมาจาร เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดหนองบัว เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อครั้งเป็นพระเปรียญ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พระอุปชญาย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อทรงบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ครั้นวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อวัดเหนือได้พามาฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสนหา จังหวัดนครปฐมและได้เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดเสนหาในพรรษานั้น อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อจึงได้พามาถวายตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ในขณะนั้นยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้รับพระเมตตารับไว้และทรงมอบให้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา(เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ.๓ ต่อมาลาสิกขา)ทรงได้รับประทานฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สุวฑฺฒโน ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงที่วัดบวรนิเวศวิหาร ขณะนั้นมีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญทั้งวัด พระองค์เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ)
พระอุปชฌาย์
เมื่อครั้งทรงอุปสมบท

พระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ)
พระกรรมวาจารย์
เมื่อครั้งทรงอุปสมบท
 

พระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสรญาโณ)
พระกรรมวาจาจารย์
เมื่อครั้งทรงอุปสมบท
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ทรงอุปสมบท

พ.ศ. ๒๔๗๖ พระชนมายุครบอุปสมบทได้ ทรงกลับไปทรงอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ตรงกับ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดหรุงเจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ทรงอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยูที่วัดเทวสังฆาราม อยู่ ๑ พรรษา แล้วกลับมาทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ (ขณะนั้นยังนับเดือน - เมษายนเป็นต้นปี) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และพระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสราโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงอุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ยังคงเวียนไปสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่อีก ๒ ปี และทรงสอบ เปรียญธรรมเรื่อยมาจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในระหว่างนั้นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต กับสวามีสัตยานันทปุรี นักพรตชาวอินเดียด้วย
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร)
พระพี่เลี้ยงเสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ไปยังพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง
เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีตามขัตติยราชประเพณี
 

สมณศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่ในการคณะสงฆ์และการพระศาสนา

เมื่อทรงสอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว ก็ทรงรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งทางวัดและทางคณะสงฆ์ นับแต่ทรงเป็นครูสอนนักธรรมและบาลี และเมื่อมีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีสนามหลวง ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีเรื่อยมาจนถึงชั้นประโยค ๙ ต่อจากนั้นได้ทรงรับ ภาระทางการคณะสงฆ์และการพระศาสนา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ 

พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงเป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเป็นเลขานุการ ในองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ สมเด็จวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระโศภนคณาภรณ์ ทรงเป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงเป็นกรรมการอำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และเป็นกรรมการแผนกตำราของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ
พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม และได้เป็นผู้ร่วมในคณะทูตพิเศษที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอัครสาวก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. ๒๔๙๖ ทรงเป็นกรรมการตรวจชำระคัมภีร์ฎีกา
พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทถาวร
พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
พ.ศ. ๒๕๐๑ ทรงเป็นกรรมการคณะธรรมยุต และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
พ.ศ. ๒๕๐๓ ทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต
พ.ศ. ๒๕๐๔ ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค เป็พระอุปัชฌาย์ และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ
พ.ศ. ๒๕๐๖ ทรงเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรก ตามพระราชบัญัญติคณะสงฆ์ พ. ศ. ๒๔๐๕
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดราชสิทธาราม
พ.ศ. ๒๕๑๗ ทรงเป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. ๒๕๒๘ ทรงเป็นรองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎกเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ. ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเมื่อวันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๓๕๑ ตรงกับ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงถวายพัดยศแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
นำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปถวายสักการะ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร)
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
พร้อมทั้งถวายฎีกาอาราธนาไปเข้ารับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2532

พระเกียรติคุณ

การพระศาสนาในต่างประเทศ
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น จัดให้มีการเทศน์ เป็นภาษาอังกฤษ การสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยพระองค์ทรงเป็น ผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติพระศาสนกิจในต่างประเทศ อีกหลายคราว คือ
พ.ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
พ.ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา ในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซีย ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตไทยชุดแรกไปยังประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
พ.ศ. ๒๕๑๔ เสด็จไปดูการพระศาสนาและการศึกษาในประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาลขึ้น ในขั้นแรกได้ให้ทุนจำนวน ๒ ทุน สำหรับภิกษุสามเณรชาวเนปาลเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซีย จำนวน ๔๓ คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย
พ.ศ. ๒๕๒๘ เสด็จไปทรงเป็นประธานสงฆ์ ทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถวัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และในศกเดียวกันนั้นได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ ประเทศเนปาล
พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นทางการเพื่อเจริญศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทย – จีน เป็นครั้งแรก ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
พ.ศ. ๒๕๓๘ เสด็จไปทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาลซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ๙ มิถุนายน พ. ศ. ๒๕๓๙
ด้านสาธารณุปการ
นับแต่ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุ อันเป็นสาธารณประโยชน์ในที่อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่
  • ตึกกวีบรรณาลัย ห้องสมุดของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ตึกวชิรญาณวงศ์ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
  • ซุ้มปรางค์ที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บนลานประทักษิณชั้น ๒ ของพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร
  • ตึก ภ.ป.ร. พิพิธภัณฑ์วัดบวรนิเวศวิหาร
  • มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง
  • ศาลาวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑๕๐ ปี
เสนาสนะและถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งพระอาราม ส่วนการก่อสร้างถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายนอกวัด ตลอดถึงการอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดต่าง ๆ ได้แก่
  • สร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำหรับเป็นตึกสงฆ์
  • สร้างตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำหรับเป็นตึกสงฆ์
  • สร้างวัดสันติคีรี ณ ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
  • ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงเรียนมัธยมญาณสังวร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
  • สร้างวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • ทรงอุปถัมภ์การสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนาควัชรโสภณ จังหวัดกำแพงเพชร
  • สร้างวัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
  • สร้างวัดวังพุไทร อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
  • สร้างวัดรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
  • สร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ทรงอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดในต่างประเทศอีกหลายแห่ง คือ
  • วัดพุทธรังษี ในอุปการะของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
  • วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
  • อุโบสถวัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร ณ เมืองกีรติปูร์ ประเทศเนปาล
  • วัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม ณ รัฐแคโรไลนาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ทรงมีพระดำริให้จัดสร้างโรงพยาบาลและสถานศึกษาถวายเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ พระองค์ละ ๑ แห่ง รวม ๑๘ แห่งเรียกว่า “โรงพยาบาลสกลมหาสังฆปริณายก” แต่ละแห่งได้อัญเชิญพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์ไปประดิษฐานไว้แห่งละพระองค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ และเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนสืบไป อีกทั้งทรงสร้างในส่วนของพระองค์เองขึ้นไว้ที่จังหวัดกาญจนบุรีอีก ๑ แห่ง รวมเป็น ๑๙ แห่ง
งานพระนิพนธ์
งานด้านพระนิพนธ์นั้น ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มาก ทั้งตำราพระธรรมเทศนา ธรรมบรรยาย พุทธประวัติ สารคดีธรรม และธรรมนิพนธ์ต่าง ๆ ประมวลได้ดังนี้

ประเภทตำรา

พ.ศ. ๒๔๙๒ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค ๑-๒ เป็นหนังสืออธิบายบาลีไวยากรณ์ สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบการศึกษาของนักเรียนบาลี
พ.ศ. ๒๕๑๒ทรงเป็นผู้อำนวยการในการจัดทำปทานุกรม บาลีไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นในงานทำบุญอายุ ๖๐ ปี หม่อหลวงบัว กิติยากร พระชนนีของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒

ประเภททั่วไป

ได้ทรงเรียบเรียงไว้เป็นจำนวนมาก เช่น การนับถือพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านเลิศล้ำ ๔๕ พรรษาพระพุทธเจ้า บัณฑิตกับโลกธรรม พุทธศาสนากับสังคมไทย และตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร (ภาค ๒) เป็นต้น

ประเภทพระธรรมเทศนา

ได้ทรงเรียบเรียงไว้ และพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสต่าง ๆ เช่น พระมงคลวิเสสกถา ปัญจคุณ ๕ กัณฑ์ ทศพลญาณเทศนา ๑๐ กัณฑ์ มงคลเทศนาถึงมงคลคาถาที่ ๖ และโอวาทปาฏิโมกข์เทศนา ๓ กัณฑ์ เป็นต้น

ประเภทริเริ่มให้มีการรวบรวมและแปล

ได้ทรงให้รวบรวมพระราชนิพนธ์ และพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ และทรงจัดให้พระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ ช่วยกันแปลหนังสืออันเป็นคู่มือ ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นภาษาอังกฤษหลายเล่ม เช่น นวโกวาท วินัยมุข เล่ม ๑-๒-๓พุทธประวัติ เล่ม ๑-๒-๓ เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังได้ทรงริเริ่มให้มีการแปลหนังสือพุทธศาสนาที่สำคัญ ๆ เป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแผ่ และเป็น คู่มือการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวต่างประเทศด้วย เช่น หนังสือภิกขุปาติโมกข์ อุปสมบทวิธี ทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น

ผลงานพระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ประเภทเรียงความ
ภาษาไทย
  1. กรรม
  2. กรรม อักโกสกสูตร ขันติ
  3. การถือพระพุทธศาสนา
  4. การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่
  5. การบริหารทางจิต
  6. การบวช
  7. การปกครองคณะสงฆ์
  8. กิเลส
  9. เกิดมาทำไม
  10. ขันติ – เมตตา
  11. คติชีวิต
  12. ความเข้าใจเรื่องชีวิต
  13. ความเข้าใจเรื่องพระพุทธศาสนา
  14. ความดีของชีวิต
  15. ความรู้กับความฉลาด
  16. ความรู้ประมาณอาหารการบริโภค
  17. ความสุขหาได้ไม่ยาก
  18. ความสุขอันไพบูลย์
  19. คำกลอนนิราศสังขาร
  20. คำสัจจ์
  21. คุณสีล
  22. จิตตนคร นครหลวงแห่งโลก
  23. ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา
  24. ชีวิตกับความจริง
  25. ชุมนุมสุภาษิต
  26. ตำนานวัดบวรนิเวศ
  27. ทศพิธราชธรรมและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  28. ทศพิธราชธรรมและหลักพระพุทธศาสนา
  29. ศาสนากับการพัฒนาจิตใจ
  30. เทคโนโลยีแห่งปัญญา
  31. ธรรมคือดวงตาของชีวิต
  32. ธรรมบริหารจิต
  33. ธรรมปฏิบัติ
  34. ธรรมเพื่อชีวิต – คติชีวิต
  35. ธรรมประดับใจ (อันดับ ๓)
  36. ธัมมะประทับใจ
  37. นิทานสุภาษิต : คุณแห่งมิตรภาพ
  38. นิทานสุภาษิต : ศีลยังภรรยาให้สำเร็จ
  39. แนวความเชื่อ : ตอนที่ ๑ ว่าด้วยความเชื่อ ๓ ประเภท
  40. บทความของสมเด็จพระญาณสังวร
  41. บทความเรียงพิเศษ : ทางศรัทธา
  42. บ่วงจิต
  43. บวชดี
  44. บัณทิตกับโลกธรรม
  45. ปกติธรรม ปกติสุข
  46. ผู้ทำความดีย่อมได้ที่พึ่ง
  47. พ้นมือมาร
  48. พรหมวิหารธรรม
  49. พรหมวิหาร ๔
  50. พระธรรมจักร เราช่วยกันสร้างเมืองด้วยธรรมประทีป
  51. พระพุทธเจ้าของเรานั้น ท่านเลิศล้ำ ปี ๒๕๐๙ , ๒๕๑๐ , ๒๕๑๑ , ๒๕๑๒ , ๒๕๑๓ , ๒๕๑๔
  52. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร
  53. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร ศีล สันโดษ
  54. พระพุทธเจ้า ศาสนากับสังคมไทย
  55. พระพุทธเจ้ากับสังคมไทยและพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
  56. พระพุทธศาสนาและการนับถือพระพุทธศาสนา
  57. พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์แปล
  58. พุทธศาสนธรรมและเห็นประโยชน์อย่างไรจึงนับถือศาสนา
  59. พุทธศาสนวงศ์
  60. พุทธศาสนสุภาษิต
  61. พุทธศาสนสุภาษิต (ไทย – อังกฤษ)
  62. มงคลวจนะ
  63. มงคล ๕ ข้อ
  64. มนุษยธรรมหลักแห่งปกติภาพของชีวิตและสังคม
  65. มองเมืองไทยทางพุทธบัญชร (ไทย – อังกฤษ)
  66. มูลเหตุธรรมเนียมการถวายผ้ากฐินและผ้าป่า
  67. ราชธรรมกับการพัฒนาสังคม
  68. เรื่องบัวสี่เหล่า
  69. ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ไทยโดยสังเขป
  70. โลกและชีวิตในพุทธธรรม
  71. วิธีการของพระพุทธเจ้า
  72. วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรม
  73. วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมและศีล
  74. ศาสนากับชีวิต
  75. ศีล (ไทย – อังกฤษ)
  76. ศึกษา
  77. สวดมนต์บรรยาย
  78. สวัสดีปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๓๔
  79. สังคหวัตถุ
  80. สันโดษ
  81. สันโดษ กรรม อักโกสกสูตร
  82. สารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวาร ตอนว่าด้วยพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร
  83. สิริมงคลของชีวิต
  84. ศีลและทิฏฐิที่ดี
  85. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๑
  86. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒ ตอน ๑ , ๒ พรรษาที่ ๖ – ๙
  87. สุขุบายธรรม
  88. เส้นทางสร้างสุข
  89. แสงส่องใจ (ไทย – อังกฤษ)
  90. แสงส่องใจ อันดับ ๑ -๔
  91. แสงส่องใจให้เพียรพรหม
  92. โสฬสธรรม
  93. หนังสือธรรมในพระพุทธศาสนา
  94. หลัการทำสมาธิเบื้องต้น (ไทย – อังกฤษ)
  95. หลัการทำสมาธิเบื้องต้น ปัญญา นิวรณ์และกัมมัฏฐาน สำหรับแก้การ
  96. หลงลืมตัว ของฝาก – ขวัญปีใหม่ ศาสนาและทศพิธราชธรรม
  97. หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมทางจิต (๒ เล่ม)
  98. หลักพระพุทธศาสนา
  99. หลักพระพุทธศาสนา ทศพิธราชธรรม และหลักพระพุทธศาสนา
  100. ห้องสมุด
  101. เหตุแห่งความสุข
  102. อธิบายวากยสัมพันธ์ภาค ๑ , ๒
  103. อวิชชา
  104. อัฏฐารสธรรม
  105. อัปปมาทธรรม
ภาษาอังกฤษ
  1. Betrachung des korpress
  2. Contemplation of the Body Kayanupassana
  3. The Contemplation of Feelings Vedananupassana
  4. A Guide to Awareness
  5. His Majesty The King of Thailand Ten Thousand Days on the Throne
  6. The Maxims of the Sanggharaja of the Thai Sangha and the Government of
  7. theThai Sangha
  8. Rudiments of Mental-Collectedness
  9. Selected Articles on Buddhism
  10. Ten Thousand Days on the Throne
  11. Wat Bovornnives Vihara
  12. What Did the Buddha Teach?
ประเภทคำบรรยายและโอวาท
ภาษาไทย
  1. การนับถือพระพุทธศาสนา
  2. การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่
  3. การปฏิบัติทางจิต
  4. การอบรมวิปัสสนากรรมฐาน
  5. คำบรรยายพิเศษเรื่อง บทบาทของพระวิทยากรแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง และพุทธธรรมกับการพัฒนาชนบท
  6. คำบรรยายพิเศษเรื่อง ศาสนากับการพัฒนาจิตใจ และเรื่องธรรมะในการพัฒนา ตนและครอบครัว
  7. คำบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย เรื่องพระพุทธศาสนากับสังคมไทย
  8. จิตตนคร นครหลวงแห่งโลก และแนวปฏิบัติในโพธิปักขิยธรรม ๓๗
  9. จิตตภาวนา
  10. ทศบารมี ทศพิธราชธรรม
  11. ธรรมกถาในการปฏิบัติอบรมจิต (๒ เล่ม)
  12. ธรรมกถาในการปฏิบัติอบรมทางจิต
  13. ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน
  14. ธรรมกถาในพิธีบำเพ็ญจิตตภาวนาพุทโธ
  15. ธรรมบรรยายพิเศษ จตุสติปัฏฐาน
  16. ธรรมบรรยายอบรมจิต
  17. ธรรมปฏิบัติเบื้องต้น : หลักการทำสมาธิเบื้องต้น อย่างไรที่เรียกว่าปฏิบัติธรรม
  18. ธรรมประดับใจ
  19. ธรรมปาฐกถา
  20. ธรรมปาฐกถา เรื่องหน้าที่
  21. ธรรโมวาท
  22. นวกานุสาสน์ จิตตภาวนาธรรมบรรยาย
  23. เนกขัมมะ
  24. แนวปฏิบัติทางจิตและธรรมปฏิบัติ
  25. แนวปฏิบัติในโพธิปักขิยธรรม ๓๗
  26. แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน
  27. บันทึกกัมมัฏฐาน
  28. ปาฐกถาธรรมเรื่องความตาย
  29. ปาฐกถาพิเศษ เรื่องทศพิธราชธรรมและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
  30. ปาฐกถาเรื่องการนับถือพระพุทธศาสนา
  31. พรหมธรรมและนาถกรณธรรม
  32. พระบรมราชโชวาทเรื่องคุณธรรม ๔ ประการ
  33. พระบรมราชโชวาทเรื่องคุณธรรม ๔ ประการ ศาสนาและทศพิธราชธรรม
  34. พระโอวาทวันลาสิกขา
  35. พระโอวาทสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระอุปัชฌาย์ ประทานแก่นวกภูมิภิกษุวัดบวรนิเวศวิหารพรรษากาล ๒๕๓๒
  36. ลักษณะพระพุทธศาสนา
  37. สัมมาทิฏฐิ
  38. สัมโมทนียกถา
  39. สี่รอบพระนักษัตร
  40. อนุโมทนากถา
  41. อนุสสติและสติปัฏฐาน
  42. อานาปานสติ
  43. อารัมภพจนแห่งรายการพระพุทธศาสนา
  44. โอวาทานุศาสน์
  45. โอวาทพระธรรมเทศนา
  46. โอวาทและเทศนาต่างรส
ภาษาอังกฤษ
  1. Practical Buddhadhamma
ประเภทเทศนา
  1. จตุธรรมสำคัญ
  2. ญาณสังวรเทศนา
  3. เถรธรรมกถา
  4. ทศพิธราชธรรม
  5. ทศพลญาณ
  6. ทุลลภกถา
  7. บารมี : บารมีและคู่มือปฏิบัติงานศาสนพิธี
  8. ประชุมพระธรรมเทศนาหน้าพระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดี รังสิต
  9. ปัญจคุณ
  10. ปัญจพลกถา
  11. ปิยมหาราชานุสรณกถา
  12. พระธรรมเทวาธิราช
  13. พระธรรมเทศนา
  14. พระธรรมเทศนา พระธรรมเทศนาและบันทึกคติธรรม
  15. พระธรรมเทศนาทุลลภกถา ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปาทาน
  16. พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พระธรรมเทศนาในการสมโภช พระนคร ครบ ๑๐๐ ปี ๑๕๐ ปี และ ๒๐๐ ปี
  17. พระธรรมเทศนาในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๕๑ และ พ.ศ. ๒๕๓๑
  18. พระธรรมเทศนา พรหมวิหารกถา
  19. พระธรรมเทศนา พุทธปทีปกถา
  20. พระธรรมเทศนา โลกธรรมคาถา
  21. พระธรรมเทศนา ศราทธพรตเทศนา
  22. พระธรรมเทศนา สัจจธรรมกถา
  23. พระมงคลวิเสสกถา
  24. พระมงคลวิเสสกถา : รับพระราชทานถวายในพระราชพิธี
  25. เฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๗
  26. พระมงคลวิเสสกถาและพระธรรมเทศนาพิเศษ
  27. พุทธุปปาทาทิสุขกถา
  28. มงคลเทศนา
  29. รวมบทพระธรรมเทศนา
  30. ลกุฏิกชาดกสาธกธรรมเทศนา
  31. ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย
  32. โลก – เหนือโลก
  33. สมเด็จพระญาณสังวร พระมงคลวิเสสกถา
  34. สังฆคุณและโอวาทปาติโมกขเทศนา
  35. อนุสติฐานกถา
  36. อาหุเนยโย
ปริญญาดุษฎิบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๒๙ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎิบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญา
พ.ศ. ๒๕๓๒ มหาวิทยาลัยมหิดล ถวายปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศาสนาเปรียบเทียบ
พ.ศ. ๒๕๓๓ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗ มหาวิทยาลังเกษตรศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยนเรศวร ถวายปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถวายปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาไทศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ถวายปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
พระกรณียกิจพิเศษ
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น จัดให้มีการเทศน์ เป็นภาษาอังกฤษ การสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยพระองค์ทรงเป็น ผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติพระศาสนกิจในต่างประเทศ อีกหลายคราว คือ
พ.ศ. ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง)ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙
พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ในการทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงเป็นพระอาจารย์ ถวายการอบรมพระธรรมวินัย ขณะที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารระหว่างวันที่ ๖ - ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น จัดให้มีการเทศน์ เป็นภาษาอังกฤษ การสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยพระองค์ทรงเป็น ผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติพระศาสนกิจในต่างประเทศ อีกหลายคราว คือ
  1. ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
  2. เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
  3. เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
  4. รักษาการเจ้าอาวาสวัดญาณสังวร ในพระบรมราชูปถัมภ์
  5. นายกสภามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย
  6. ผู้อำนวยการโรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุต
  7. ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์
  8. ประธานคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา
  9. นายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  10. ประธานกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
  11. ประธานกรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์